สินเชื่อส่วนบุคคลคืออะไร?
สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นแหล่งเงินกู้ แหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย ที่มีทั้งสถาบันการเงิน ธนาคารให้บริการ โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับรอง เพื่อให้คนที่ต้องการเงินก้อน ตามหาเงินทุน สร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ง่ายมากขึ้น
ตามประกาศธปท. วันที่ 31กรกฎาคม 2563 คําจํากัดความ สินเชื่อส่วนบุคคล หมายถึง “การให้กู้ยืมเงิน การรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วง ซื้อลดตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด แก่บุคคลธรรมดา โดยมิได้ระบุวัตถุประสงค์หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ
และให้รวมถึงสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อนําไปใช้ในการประกอบอาชีพ”
สินเชื่อส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง?
สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เปิดโอกาส ให้คนทั่วไปเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ซึ่งแต่ละธนาคารหรือสถาบันการเงิน ก็มีรายละเอียดที่ต่างกัน ทั้งเงื่อนไข คุณสมบัติ จุดประสงค์การใช้งาน
สามารถแบ่งได้ถึง 2 ประเภท
● สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หมายถึง สินเชื่อที่ต้องนำหลักทรัพย์มาค้ำประกันวงเงินกู้ อย่างรถยนต์ บ้านที่มีมูลค่ามากกว่าหรือเท่ากับสินเชื่อที่ขอมา
● สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หมายถึง สินเชื่อที่ไม่จำเป็นต้องขอหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพียงแค่แสดงหลักฐานรายได้ตอนสมัครขอสินเชื่อนั่นเอง เช่น บัตรกดเงินสด
สินเชื่อส่วนบุคคลเหมาะกับใคร?
แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ นั่นก็คือ
กลุ่มที่ 1: กลุ่มพนักงานบริษัทฯ ที่มีรายได้ประจำ
กลุ่มที่ 2: กลุ่มวิชาชีพแพทย์ พยาบาล หรือ เภสัชกร
กลุ่มที่ 3: กลุ่มครู ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
กลุ่มที่ 4: อื่น ๆ
โดยเพียงแค่ตรวจสอบคุณสมบัติ ยื่นเอกสารการสมัคร เอกสารแสดงแสดงรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน, หนังสือรับรองเงินเดือน และรายการเดินบัญชี เพื่อให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินมั่นใจความสามารถในการชำระหนี้ และพร้อมปล่อยสินเชื่อตามเอกสารที่แสดงนั่นเอง โดยรายละเอียดคุณสมบัติ เอกสาร และการพิจารณา ก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละ สถาบันการเงิน แนะนำให้ลองตรวจสอบข้อมูลที่ Website ของแต่ละสถาบันการเงินที่เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลโดยตรง เพื่อความสะดวก และรวดเร็วในการเตรียมความพร้อม
การคำนวณดอกเบี้ยเบื้องต้น
การคิดดอกเบี้ยคำนวณสินเชื่อส่วนบุคคล ก็มีวิธีการคิดคำนวณเพื่อประมาณ การรายจ่ายในแต่ละเดือน ยกตัวอย่างเช่น การคำนวณสินเชื่อแบบลดต้นลดดอก
การจ่ายดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกนั้น หากจ่ายในแต่ละงวดมากเท่าไหร่ ก็จะจ่ายงวดต่อ ๆ ไป เบาลงเท่านั้น ข้อดีคือ ยิ่งโปะเงินมาก หนี้ก็หมดไวขึ้นนั่นเอง
สูตรการคำนวณอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก: เงินต้นคงเหลือ x ดอกเบี้ย 15% x จำนวนวันในแต่ละรอบบัญชี* ÷ 365 วัน
คุณสมบัติของผู้กู้
สำหรับคุณสมบัติผู้กู้สินเชื่อส่วนบุคคลปกติแล้ว คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อทั้งธนาคาร และสถาบันการเงินจะแตกต่างกันไม่มาก ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของสินเชื่อนั้น ๆ ระยะเวลาการกู้ ค่าดำเนินการ เป็นต้น ซึ่งคุณสมบัติหลัก ๆ ที่จำเป็น มีดังนี้
✔ อายุระหว่าง 20-55 ปี
✔ เป็นพนักงานและมีรายได้ประจำตั้งแต่ 7,000 บาท ขึ้นไป
✔ มีอายุการทำงาน ตั้งแต่ 1 เดือนเป็นต้นไป
✔ มีหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านหรือที่ทำงานที่ติดต่อได้
✔ มีที่อยู่และที่ทำงานอยู่ในพื้นที่บริการ
โดยรายละเอียดคุณสมบัติ ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และข้อกำหนดของธนาคาร และสถาบันการเงินนั้น ๆ
สำหรับตัวอย่างเอกสารที่ประกอบการสมัครมีดังนี้
● บัตรประชาชนตัวจริง (พร้อมสำเนา)
● เอกสารแสดงรายได้ เช่น
- สลิปเงินเดือน
- หนังสือรับรองเงินเดือน
- Statement หรือรายการเดินบัญชีเงินเดือนย้อนหลัง
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก
ฐานเงินเดือน
สำหรับฐานเงินเดือนของผู้ที่ต้องการสมัครสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นสิ่งจำเป็น ที่นำมาใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ โดย คุณสมบัติเกี่ยวกับ ฐานเงินเดือน ก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละสถาบันการเงิน เช่น บางที่หากเป็นพนักงานประจำ มีรายได้ที่มั่นคง ฐานเงินเดือนตั้งแต่ 7,000 บาทขึ้นไป ก็สามารถยื่นเอกสารการสมัคร เพื่อให้สถาบันการเงินพิจารณาได้
สินเชื่อส่วนบุคคลเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการเงินที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่มีรายได้มั่นคง มีประวัติทางการเงินที่ดี และมีความสามารถในการจ่ายคืน เพื่อช่วยในการเสริมสภาพคล่องทางการเงิน
โดยหากกำลังมองหาตัวช่วยทางการเงิน ในยุคนี้ก็มีหลากหลายที่ที่ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล โดยอย่าลืมที่พิจารณาธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน ที่มีความมั่นคง และน่าเชื่อถือได้ด้วยนะ