หากพูดถึงคำว่า “อิสรภาพทางการเงิน” ในความคิดของแต่ละคนก็คงตีความหมายแตกต่างกันออกไป เพราะเป้าหมายในชีวิตของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน สำหรับบางคนคือการได้มีเงิน มีเงินใช้จ่ายในแต่ละเดือนแบบไม่ต้องกู้ยืมก็เพียงพอแล้ว  บางคนคือการมีหน้าที่การงานดีและมีเงินสดหลักสิบล้านบาทเก็บสำรองไว้ใช้ยามจำเป็นบางคนคือการมีเงินสดจำนวนมากพอที่จะใช้จ่ายไปตลอดชีวิตโดยไม่ต้องทำงาน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละคน 
 
สิ่งสำคัญอย่างแรกที่ต้องทำ คือ การสำรวจความต้องการของตนเองก่อน โดยสิ่งจำเป็นที่ต้องรู้ คือ 
  • ต้องการมีอิสรภาพทางการเงินตอนอายุเท่าไหร่ เช่น ตอนอายุ 50 ปี
  • ค่าใช้จ่ายจำเป็นต่อเดือน และค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยต่อเดือนที่ต้องใช้หลังมีอิสรภาพทางเงิน เช่น ค่าใช้จ่ายจำเป็น 30,000 บาท/เดือน ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 20,000 บาท/เดือน เพื่อจะได้ทราบว่าหากเราไม่ได้ทำงานเลย เราจะต้องมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณเท่าไรถึงจะเพียงพอไปตลอดสิ้นอายุขัยของตนเอง
  • คาดการณ์อายุขัยของตนเอง เช่น จะมีอายุอยู่จนถึง 85 ปี 
 
เมื่อสำรวจทั้ง 3 ข้อนี้แล้ว เราสามารถคิดเป็นจำนวนเงินคร่าวๆ ที่ควรมีตอนอายุ 50 ปี ไปตลอดจนสิ้นอายุขัย คือ 85 ปี (รวม 35 ปี) ได้ ดังนี้
 
ค่าใช้จ่าย 50,000 บาท/เดือน x 12 เดือน = 600,000 บาท/ปี
ค่าใช้จ่าย 600,000 บาท/ปี x 35 ปี = 21,000,000 บาท 
 
ดังนั้น เท่ากับว่า คุณควรจะต้องมีเงินสดโดยประมาณ 21,000,000 บาท ตอนอายุ 50 ปี ถึงจะมีอิสรภาพทางการเงินได้ ซึ่งตัวเลขนี้ยังไม่รวมอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทย เมื่อทราบจำนวนเงินคร่าวๆ ที่ควรมีแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนการวางแผนการเงินและการใช้ชีวิตเพื่อก้าวเข้าสู่เส้นทางการมีอิสรภาพทางการเงิน  
 
แนะหลากวิธีทำให้มีอิสรภาพทางการเงิน
 
1. สำรวจสุขภาพการเงินและวางแผนบริหารจัดการเงิน
เมื่อทราบแล้วว่าตนเองควรมีเงินสดจำนวนเท่าไหร่ ตอนอายุเท่าไหร่ ถึงจะเรียกว่ามีอิสรภาพทางการเงิน แนะนำให้เริ่มสำรวจสุขภาพการเงินและวางแผนบริหารจัดการเงินของตนเองโดยเร็วที่สุด 
 
โดยเริ่มจากการสำรวจรายรับ - รายจ่ายของตนเองในแต่ละเดือน แนะนำให้ทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น สำรวจดูว่าตนเองมีรายรับเท่าไหร่ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่จำเป็น ค่าใช้จ่ายอะไรที่ฟุ่มเฟือย ค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ไม่จำเป็นและสามารถตัดออกได้บ้าง มีหนี้สินจำนวนเท่าไหร่ แล้วลองสังเกตดูว่า โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละเดือนเหลือเงินเก็บจำนวนเท่าไหร่ เพื่อนำไปปรับปรุงการบริหารเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น
 
  • หากมีหนี้แนะนำให้ปลดหนี้ก่อน โดยเฉพาะหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง เมื่อหนี้หมดก็จะได้นำเงินส่วนนั้นไปลงทุนให้ผลตอบแทนงอกเงยได้
  • เมื่อได้รับเงินเดือนมา ให้แบ่งออมโดยทันทีอย่างน้อย 10% ของเงินเดือน อาจเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงก็เป็นวิธีที่น่าสนใจ เพื่อนำเงินส่วนนี้ไปต่อยอดในการลงทุนเพื่อผลตอบแทนที่งอกเงยมากยิ่งขึ้น
  • วางแผนภาษีให้ดี เพราะนับว่าหนึ่งในตัวช่วยที่ดี ที่จะทำให้เราได้รับสิทธิประโยชน์ในรูปเงินคืนภาษี และนำเงินส่วนนี้มาเป็นเงินทุนเพื่อลงทุนต่อยอดในอนาคตได้
 
2. ต่อยอดเงินออมด้วยนำเงินไปลงทุน
การนำเงินออมไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ หรือการหา Passive Income ที่ตรงกับความชอบส่วนตัวและไลฟ์สไตล์ของตนเอง ก็จะช่วยให้มีโอกาสก้าวสู่การมีอิสรภาพทางการเงินได้มากยิ่งขึ้น เช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ หุ้น การปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ  ทั้งนี้จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนให้ดี ทำความเข้าใจการลงทุนนั้นๆ อย่างถี่ถ้วน ต้องอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยง หากเป็นไปได้แนะนำให้ลงทุนหลากหลายประเภทเพื่อกระจายความเสี่ยง
 
3. การมีอาชีพเสริม
การมีอาชีพเสริมก็เป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้มีอิสรภาพทางการเงินได้ไวยิ่งขึ้น แนะนำให้เริ่มจากทักษะที่ตนเองถนัดหรือความชอบของตนเอง เพราะหากไปได้ดีก็มีโอกาสเติบโตเป็นรายได้หลักที่สร้างเงินจำนวนมากได้เช่นกัน เช่น การเป็นล่าม การถ่ายภาพ การขายสินค้าออนไลน์ การทำอาหารกล่องขาย นักรีวิวสินค้า ฯลฯ
 
4. แบ่งเงินทำประกัน  
คนส่วนใหญ่มักมองว่าการมีอิสรภาพทางการเงิน คือการมุ่งหาเงินไปให้ถึงเป้าหมายเพียงอย่างเดียว แต่รู้หรือไม่ว่าการแบ่งรายได้ประมาณ 5 - 10% ไปทำประกันก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการมีประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ที่จะช่วย ประหยัดค่าใช้จ่ายในค่ารักษาพยาบาลยามเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ ที่สำคัญเมื่ออายุมากขึ้นยิ่งมีความเสี่ยงด้านสุขภาพมากขึ้น ดังนั้น การทำประกันจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ไปจนถึงสิ้นอายุขัยได้เลยทีเดียว แถมยังสามารถนำเบี้ยประกันไปหักลดหย่อนภาษีได้ด้วย
 
5. ใช้สิทธิประโยชน์จากบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสด 
หลายคนอาจนึกภาพไม่ออกว่าการใช้สิทธิประโยชน์จากบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดจะช่วยให้มีอิสรภาพทางการเงินได้อย่างไร เราขออธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ว่าส่วนใหญ่แล้วบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดจะมีโปรโมชันคู่กับร้านค้า ร้านอาหารพันธมิตร ทำให้ผู้ถือบัตรได้รับส่วนลด ได้สะสมแต้มเพื่อแลกเป็นส่วนลด ได้เครดิตเงินคืน ฯลฯ ซึ่งช่วยให้เราประหยัดเงิน แถมได้สิทธิประโยชน์ดีๆ กลับคืนมาอีกด้วย ซึ่งจุดนี้นี่เองที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายบางส่วนของเรา ทำให้เราก้าวไปสู่การมีอิสรภาพทางการเงินได้ไวมากขึ้น ทั้งนี้ แนะนำว่าเมื่อถึงรอบบิลที่ต้องชำระ  ให้ชำระเต็มจำนวน ภายในเวลาที่กำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ยและโดนค่าปรับด้วย
นอกจากวิธีที่จะช่วยให้มีอิสรภาพทางการเงินตามที่เราแนะนำไปข้างต้นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องมีคือ เงินสำรองอย่างน้อย 3 - 6 เท่าของเงินเดือน หรือ 3 - 6 เท่าของรายจ่ายที่จำเป็น อาจเป็นในรูปแบบเงินสดฝากธนาคาร หรือบัตรกดเงินสดก็ได้ ที่สำคัญคือการมีวินัยกับการเงินของตนเอง ยิ่งมีวินัยมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเห็นอิสรภาพทางการเงินชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น
 
หากต้องการผู้ช่วยทางการเงินหรือต้องการเงินสดสำรอง บัตรกดเงินสดยูเมะพลัส นับว่าเป็นหนึ่งตัวช่วยทางการเงินที่ดี เพราะสามารถเบิกเงินสด และสั่งเงินโอนเข้าบัญชีได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมมีสิทธิประโยชน์มากมายให้เลือกใช้ หรือหากสมัครไว้แล้วไม่ได้ใช้ก็ไม่เกิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
 
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด