ปัญหาเงินเฟ้อเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้สินค้าอุปโภค บริโภค และการบริการต่าง ๆ ทยอยปรับขึ้นราคา ทำให้แต่ละคนมีค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการมีรายได้ทางเดียวอาจไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต ซึ่งการทำอาชีพเสริมในเวลาว่าง ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินได้ รวมไปถึงคนที่อยากมีรายได้พิเศษเพื่อจะได้มีเงินสำรองก็สามารถทำได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงรวบรวมอาชีพเสริมที่น่าสนใจมาฝากกัน
1. ติวเตอร์สอนพิเศษ
สามารถทำได้ทั้งการสอนแบบตัวต่อตัวและการสอนแบบออนไลน์ เพราะปัจจุบันมีแพลตฟอร์มที่ส่งเสริมการเรียนออนไลน์มากมาย โดยเราสามารถใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของเราในการหารายได้เพิ่มเติมได้จากการเปิดสอนในสิ่งที่เราถนัด เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ดนตรี ทำอาหาร การประดิษฐ์ ถ่ายรูป เป็นต้น
2. อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer)
หากมีความเชี่ยวชาญในเรื่องต่าง ๆ เช่น แฟชั่น ความงาม การเล่นกีฬา การออกกำลังกาย การท่องเที่ยว ฯลฯ ไม่ว่าอายุเท่าไหร่ ประกอบอาชีพอะไรอยู่ ก็สามารถเป็นอินฟลูเอนเซอร์ได้ โดยใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียของตัวเองในการโปรโมตสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ แก่ผู้ชม ยิ่งทำคอนเทนต์ให้มีความน่าสนใจ และมีผู้ติดตามจำนวนมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จทางการเงินได้มากขึ้นจากการโปรโมตสินค้า การให้ข้อมูลสินค้าของแต่ละแบรนด์ การรีวิวการใช้งาน เป็นต้น อนึ่งการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ความน่าเชื่อถือ และที่สำคัญต้องซื่อสัตย์กับผู้ชมและผู้ติดตาม ไม่รีวิวหรือโปรโมตเกินจริง
3. ร่วมเป็นพันธมิตรกับแบรนด์หรือร้านค้า (Affiliate)
การร่วมเป็นพันธมิตรกับแบรนด์หรือร้านค้า สามารถทำในช่องทางออนไลน์ได้ง่าย โดยเริ่มจากการสมัครโปรแกรมดังกล่าวและรับลิงก์ หรือ รหัสอ้างอิงจากแบรนด์ และนำไปรีวิว หรือโปรโมตในช่องทางโซเชียลมีเดียของตนเอง เมื่อเกิดการซื้อขายผ่านลิงก์หรือรหัสอ้างอิงดังกล่าวสำเร็จ เราจะได้ค่าคอมมิชชั่นจากแบรนด์หรือร้านค้าดังกล่าว การทำ Affiliate นั้นสามารถทำควบคู่ไปกับการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ได้ ยิ่งคอนเทนต์มีความน่าสนใจ โอกาสที่ผู้ชมหรือผู้ติดตามจะกดซื้อสินค้าจากลิงก์ของเราก็จะยิ่งสูงขึ้น
4. ลงทุนในกองทุน หุ้น สินทรัพย์ต่าง ๆ
การลงทุนในหุ้นเป็นอีกวิธีหนึ่งในการหารายได้เสริม และสามารถเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ลงทุนได้ในระยะยาว แต่ผู้ลงทุนจำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานของตลาดหุ้นก่อน ควรกำหนดเป้าหมายในการลงทุนให้ชัดเจนว่าต้องการผลกำไรในระยะยาว หรือระยะสั้นเพื่อหากองทุน หุ้น หรือสินทรัพย์ที่เหมาะสม และควรลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง ไม่ควรลงทุนในหุ้น กองทุน หรือสินทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียว ที่สำคัญควรจำไว้เสมอว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาลักษณะของหุ้น กองทุน และสินทรัพย์ของตัวเองก่อนการลงทุนอย่างละเอียดถี่ถ้วน ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้น และขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนเมื่อจำเป็น
5. เปิดร้านออนไลน์ ขายได้ทุกอย่าง
การเปิดร้านออนไลน์ควรเริ่มต้นจากสิ่งที่ชอบ หากชอบทำอาหารก็อาจทำอาหารขาย ชอบแฟชั่นอาจเลือกเสื้อผ้า หรือเครื่องประดับมาจำหน่าย หรือชอบของเล่น ก็หาของเล่นมาขายตามช่องทางต่าง ๆ เช่น Instagram, Facbook, X, Tiktok หลังจากตัดสินใจเปิดร้านแล้วควรคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายให้ดี ทำระบบบัญชีรายรับรายจ่ายโดยละเอียด ไม่สต็อกสินค้าเยอะจนเกินไป ทำโปรโมชันส่งเสริมการขาย หรือไลฟ์สดพร้อมส่วนลดก็ได้ เมื่อธุรกิจร้านออนไลน์ดำเนินไปได้ด้วยดี อาจทำการขอสินเชื่อเพื่อขยายธุรกิจไปลงทุนเพิ่มเติมได้
6. รับงานฟรีแลนซ์
หากมีทักษะพิเศษ เช่น การออกแบบ ถ่ายภาพ การทำบัญชี การแปล การเขียนบทความ ก็อาจจะรับงานเสริมที่เกี่ยวข้องกับทักษะพิเศษที่เรามีได้ในช่วงเวลาหลังเลิกงานหรือวันหยุด โดยปัจจุบันมีแพลตฟอร์มมากมายที่สามารถลงทะเบียนเป็นฟรีแลนซ์เพื่อรับงานจากลูกค้า หรืออาจเลือกรับงานจากเพจในเฟสบุ๊กก็สามารถทำได้ โดยการทำงานทุกครั้งควรทำใบเสนอราคาต่อชิ้นงานให้ชัดเจนด้วย
7. รับจ้างเดลิเวอรี่หรือให้บริการขับรถ
ปัจจุบันมีผู้ให้บริการแอปพลิเคชันเดลิเวอรี่อาหาร และให้บริการขับรถรับส่งหลายเจ้า คุณสามารถเลือกสมัครได้ตามความพึงพอใจโดยรายได้ขึ้นอยู่กับจำนวนรอบที่รับงาน ยิ่งรับงานมากยิ่งมีรายได้มาก
ทำงานเสริมอย่างไรให้ปัง ไม่รบกวนงานประจำ
อาชีพเสริมช่วยเพิ่มรายได้ให้เราก็จริง แต่เราควรมีความรับผิดชอบต่องานประจำที่ทำเป็นหลักด้วย โดยควรแบ่งเวลาการทำงานประจำและอาชีพเสริมของเราให้ชัดเจน อาจจะจัดตารางส่วนตัวเป็นช่วงเลิกงานประจำหรือวันหยุด อย่าให้งานใดงานหนึ่งกินเวลาของอีกงานหนึ่ง หมั่นสำรวจความต้องการของตลาด และหมั่นหาไอเดียใหม่ ๆ สิ่งใหม่ ๆ มาใช้กับธุรกิจหรืออาชีพเสริมของเราอย่างสม่ำเสมอ เติมไฟให้ตัวเองเมื่อท้อหรือหมดกำลังใจ รับรองว่าจะมีรายรับเพิ่มเข้ามาแน่นอน
เราสามารถหาวิธีสร้างรายได้เสริมเพิ่มสภาพคล่องให้ตัวเองอีกมากมายตามความถนัดและความสามารถที่เรามี
ทั้งนี้หากคุณต้องการเงินทุนเพื่อลงทุนทำธุรกิจเสริมหรือซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยจำนวนเงินที่ไม่สูงมากนัก การขอสินเชื่อเงินสด ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะผู้ที่เป็นพนักงานประจำอยู่แล้วสามารถสมัครได้ เช่น บัตรกดเงินสดยูเมะพลัส สินเชื่อเงินสดในรูปแบบบัตรที่ไม่ต้องใช้ผู้ค้ำประกัน พร้อมมอบสิทธิประโยชน์มากมาย ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ สามารถกดเงินสดดอกเบี้ย 0% นานถึง 30 วัน* หรือหากสมัครไว้แล้วไม่ได้ใช้ก็ไม่เกิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น โดยสามารถสมัครได้ผ่านทางออนไลน์ที่ https://www.umayplus.com/cashcard/applyform ตลอด 24 ชั่วโมง
*เพียงมียอดเบิกถอนเงินสดภายใน 30 วันหลังได้รับการอนุมัติ (เฉพาะยอดเบิกถอนภายในวันแรกเท่านั้น), หลังจบโปรฯ อัตราดอกเบี้ยปรับเป็นปกติ 19.8% หรือไม่เกิน 25% ต่อปี, กรณีผิดนัดชำระจะถูกปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยปกติ, ดูเงื่อนไขได้ที่ www.umayplus.com, กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว