ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่การใช้ชีวิตแบบธรรมดา จะเจอกับสิ่งที่ไม่คาดฝันแบบไม่ธรรมดา ไม่ว่าจะมาในรูปแบบที่ตั้งใจ หรือมาแบบเหนือความคาดหมาย ล้วนต้องวางแผนรับมือให้พร้อมที่สุด เรื่องค่าใช้จ่ายก็เช่นกัน ที่มักจะมาแบบคาดไม่ถึงและไม่ทันได้ตั้งตัว จำเป็นต้องกู้เงินไหม หรือต้องทำยังไง? วันนี้เราเลยชวนมาเตรียมพร้อม รับมือกับค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึงกันดีกว่า เริ่มยังไง มาดูกันเลย
ประเมินรายจ่าย วิเคราะห์รายได้
เริ่มต้นง่าย ๆ จากหยิบใบเสร็จ บิลสินค้า กางสมุดบัญชีที่จดรายรับ-รายได้เอาไว้ ว่ามีรายจ่ายเท่าไหร่ รายได้เป็นยังไง เพียงพอหรือไม่ มีรายจ่ายเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ มีหนี้จากการกู้เงินหรือเปล่า เมื่อไหร่ค่าผ่อนสินค้าจะครบ หรือมีรายจ่ายอะไรบ้างที่ใกล้ปิดหนี้ได้แล้ว เป็นต้น
นอกจากรายจ่ายที่เห็นกันชัด ๆ และกำหนดได้แล้ว ยังมีรายจ่ายที่คาดไม่ถึงให้ต้องประเมินอีก เพื่อเตรียมเงินสำรอง พร้อมรับมือกับเรื่องไม่คาดฝันอย่างมีประสิทธิภาพ
- ค่าซ่อมรถ มีตั้งแต่ค่า พรบ. ค่าซ่อมจิปาถะ ค่าเปลี่ยนอะไหล่ ไปจนถึงค่าเช็กระยะ ยังไม่รวมค่าเบี้ยประกันหรือค่าใช้จ่ายหากเกิดอุบัติเหตุด้วย
- ค่ารักษาพยาบาล เรื่องเจ็บไข้ ได้ป่วย มักมาแบบไม่ทันตั้งตัวรายจ่ายแบบนี้ มักจะมาเมื่อเรายังไม่พร้อม ไม่ว่าจะมาก-น้อย ก็จำเป็นต้องจ่ายเช่นกัน
- ค่าซ่อมแซมบ้าน ฝนตกพายุเข้า หลังคารั่ว น้ำท่วม หรือแม้แต่ปัญหาเพื่อนบ้าน ที่อาจกระทบกับตัวบ้านของเรา ล้วนเป็นรายจ่ายที่เกิดแบบกระทันหัน ไม่ทันได้เตรียมใจ แต่เตรียมจ่ายเงินแน่นอน เพราะงั้นก็เป็นรายจ่ายที่อาจเพิ่มขึ้นได้
- ตกงานกระทันหัน ไม่แปลกที่ช่วงนี้ความเสี่ยงจะสูง ทั้งเศรษฐกิจและการทำงาน ถึงแม้ว่าจะมีชดเชยให้ถึง 3 เดือน ก็ตาม แต่อย่ามองข้ามความเสี่ยงตรงนี้เด็ดขาด
วางแผนการเงิน ควบคุมค่าใช้จ่าย
เมื่อบวกลบรายจ่ายและรายได้ หักลบกับหนี้สินจากการกู้เงินแล้ว ก็จะได้วางแผนควบคุมการเงิน ควบคุมค่าใช้จ่ายเอาไว้ให้ถูกต้องและเหมาะสม หากยังไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ลองเริ่มจากแบ่งค่าใช้จ่ายเป็น 3 ประเภท
- ค่าใช้จ่ายจำเป็น เป็นค่าใช้จ่ายที่จำนวนแน่นอน จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อย่างเช่น ค่าบ้าน ค่ารถ ที่ต้องจ่ายเป็นประจำในจำนวนตายตัวทุกเดือน เป็นต้น
- ค่าใช้จ่ายผันแปร เป็นค่าใช้จ่ายที่อาจเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลงได้ อย่างค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าอาหาร เป็นต้น บางเดือนอาจจะเพิ่ม บางเดือนอาจจะลดลงได้นั่นเอง
- ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เป็นค่าใช้จ่ายตอบสนองความต้องการของเรา ไม่ว่าจะช่วงโปรโมชันลดราคา ของจำเป็นต้องมี หรือแจกโค้ดลดราคา นั่นเอง
หากวางแผนเอาไว้เหมาะสม สัดส่วนค่าใช้จ่ายแต่ละอย่างก็สามารถปรับจูนได้ตรงกับความต้องการ บางอย่างควรเพิ่ม บางอย่างควรลด ก็ปรับได้เลยทันที
หาตัวช่วย เลือกแผนซัพพอร์ตให้ดี
หากปรับแผนการเงินแล้วยังมองว่ามีส่วนที่ขาดไปอยู่ ก็ต้องมีตัวช่วยซัพพอร์ตการเงิน ก็เป็นตัวเลือก ยอดนิยมหากยังนึกภาพไม่ออก ก็ลองมองบัตรเครดิต/บัตรกดเงินสดที่ติดตัวเราดู ก็เป็นตัวอย่าง ของการขอสินเชื่อเงินสด หรือกู้เงินที่ใกล้ตัวเราและคุ้นเคยมากที่สุด หากไม่นับการขอพ่อแม่ ยืมเพื่อน หรือยืมแฟนนั่นเอง
แน่นอนว่าหากต้องเลือกตัวช่วยการเงิน ก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับเราจริง ๆ เพราะแต่ละตัวเลือกมีข้อดีที่ แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเรื่องของ วงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย การผ่อนชำระ หรือการจ่ายค่างวด สถาบันการเงินแต่ละแห่งก็จะมีโปรโมชันที่แตกต่างกันออกไป เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานอย่างเราๆ ที่กำลังมองหาตัวช่วยการเงินเช่นกัน
สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเราประเมินรายจ่าย วางแผนควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างไร ก็ยังสามารถใช้ตัวช่วยการเงิน ควบคู่ไปในแผนการใช้จ่ายด้วยได้ อย่างเช่น การใช้บัตรกดเงินสดผ่อนสินค้า เพื่อจะได้เก็บเงินสดเอาไว้ใช้ยาม ที่จำเป็น หรือใช้บัตรกดเงินสดเป็นวงเงินสำรองเมื่อเจอกับสิ่งที่ไม่คาดฝัน ก็นับว่าเป็นตัวช่วยซัพพอร์ต ทางการเงินที่ดีและช่วยแบ่งเบาภาระการเงินได้มากด้วย