เชื่อว่าหลายคนมีความฝันอยากทำงานที่มั่นคง ดังนั้นการรับราชการจึงเป็นเป้าหมายสำคัญ การสอบบรรจุข้าราชการจึงถือเป็นด่านแรกที่ต้องผ่าน แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าการสอบนี้ คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไรและต้องเตรียมตัวแบบไหนเพื่อให้พร้อมที่สุด ในบทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจภาพรวมของการสอบบรรจุข้าราชการ รวมถึงแนวทางการเตรียมตัวเพื่อให้เราเข้าใกล้ความฝันในการเป็นข้าราชการมากขึ้น

สอบบรรจุข้าราชการ คืออะไร?

การสอบบรรจุข้าราชการ คือ กระบวนการคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าทำงานในหน่วยงานราชการต่าง ๆ เป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดได้เข้ามาแสดงความรู้ความสามารถ เพื่อรับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการประเภทต่าง ๆ เช่น ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูหรือสอบบรรจุเป็นข้าราชการ พยาบาล เป็นต้น การสอบนี้ขึ้นมีเป้าหมายเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับตำแหน่งงานและพร้อมปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ถือเป็นก้าวสำคัญสู่เส้นทางอาชีพที่มั่นคงและมีเกียรติ

รูปแบบการสอบบรรจุข้าราชการ

รูปแบบการสอบบรรจุข้าราชการโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 ภาคหลัก ๆ เพื่อวัดความรู้ความสามารถและประเมินความเหมาะสมของผู้สมัครในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ภาค ก, ภาค ข และภาค ค ซึ่งผู้สมัครจะต้องสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดในแต่ละภาคตามลำดับ จึงจะมีสิทธิ์ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการในตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร ซึ่งแต่ละภาคการสอบก็จะมีแนวทางแตกต่างกันออกไป ดังนี้

สอบภาค ก (ความรู้พื้นฐาน)

การสอบภาค ก หรือภาคความรู้ความสามารถทั่วไป เป็นการทดสอบความรู้พื้นฐานทั่วไป ไม่ว่าจะสมัครในตำแหน่งใดก็ตาม โดยเนื้อหาจะครอบคลุมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ภาษาอังกฤษและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเป็นข้าราชการที่ดี มีคะแนนเต็ม 200 คะแนน โดยจะประกอบไปด้วย 3 วิชา ดังนี้

วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์

สำหรับในการสอบบรรจุข้าราชการวิชาแรก คือวิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยวิชานี้จะวัดความสามารถทางด้านการคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ การวิเคราะห์เชิงภาษาและการวิเคราะห์เชิงนามธรรม โดยจะมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน

วิชาความสามารถทางภาษาอังกฤษ
วิชาความสามารถทางภาษาอังกฤษ

วิชาภาษาอังกฤษในการสอบภาค ก จะเน้นวัดความรู้ความเข้าใจภาษาอังกฤษในระดับพื้นฐานที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน คะแนนเต็ม 50 คะแนน เนื้อหาครอบคลุมทั้งด้านไวยากรณ์ (Grammar) คำศัพท์ (Vocabulary) การอ่านเพื่อความเข้าใจ (Reading Comprehension) และการสนทนา (Conversation) เพื่อประเมินว่าผู้เข้าสอบมีความสามารถในการสื่อสารและทำความเข้าใจข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษได้ในระดับที่เหมาะสม

วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี

วิชานี้เป็นการวัดความรู้พื้นฐาน รวมถึงคุณสมบัติที่ข้าราชการควรมี คะแนนเต็ม 50 คะแนน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่จะเข้ามาเป็นข้าราชการมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่และมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดี

สอบภาค ข (ความรู้เฉพาะตำแหน่ง)

การสอบภาค ข เป็นการสอบวัดความรู้ความสามารถที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งที่สมัครโดยเฉพาะ เนื้อหาจะแตกต่างกันไปตามลักษณะงานของแต่ละตำแหน่ง เช่น หากสอบบรรจุข้าราชการ พยาบาลวิชาชีพ ก็จะเน้นความรู้ด้านการพยาบาล กฎหมายวิชาชีพหรือหากเป็นตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ก็จะเน้นความรู้ด้านการวางแผนและวิเคราะห์นโยบาย เป็นต้น เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเหมาะสมกับงานในตำแหน่งนั้น ๆ มากที่สุด

สอบภาค ค (สัมภาษณ์)

การสอบภาค ค เป็นการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า การสอบสัมภาษณ์ ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสอบบรรจุข้าราชการ ซึ่งจะพิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จริยธรรม คุณธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอื่น ๆ ที่จำเป็นต่องานในตำแหน่งนั้น ๆ คณะกรรมการจะประเมินเพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสมที่สุดมาร่วมงาน
รูปแบบการสอบบรรจุข้าราชการ

คุณสมบัติของผู้เข้าสอบ

  • มีสัญชาติไทย
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (นับถึงวันปิดรับสมัครสอบ และไม่มีกำหนดอายุสูงสุดในการสมัครสอบ)
  • จบการศึกษาแล้ว หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้ายของระดับ ปวช. ปวท. ปวส. อนุปริญญา ปริญญาตรีหรือปริญญาโท
  • เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
  • ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  • ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
  • ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
  • ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
  • ไม่เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
  • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  • ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  • ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
  • ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือตามกฎหมายอื่น
  • ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือตามกฎหมายอื่น
  • ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

วิธีสมัครสอบ
วิธีสมัครสอบ

  • ติดตามประกาศรับสมัคร โดยสามารถตรวจสอบประกาศรับสมัครจากเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ. (https://job3.ocsc.go.th/)
  • ตรวจสอบคุณสมบัติ อ่านรายละเอียดในประกาศรับสมัครให้ครบถ้วนและตรวจสอบว่าเรามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดหรือไม่
  • สมัครสอบออนไลน์ เข้าสู่ระบบรับสมัครสอบออนไลน์ กรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลการศึกษาและข้อมูลอื่น ๆ ให้ถูกต้องและครบถ้วน
  • อัปโหลดเอกสาร เตรียมไฟล์เอกสารที่จำเป็น เช่น สำเนาระเบียนแสดงผลการศึกษา รูปถ่ายหน้าตรง และเอกสารอื่น ๆ ตามที่ประกาศระบุ แล้วอัปโหลดเข้าระบบ
  • ชำระค่าธรรมเนียม พิมพ์ใบแจ้งการชำระเงินและชำระเงินค่าธรรมเนียมสอบ 280 บาท
  • ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและกำหนดวัน เวลาและสถานที่สอบแล้ว ให้เข้าระบบเพื่อพิมพ์บัตรประจำตัวสอบ และนำไปแสดงในวันสอบ
  • สอบ ก.พ. ภาค ก หลังจากนั้นจะประกาศรายชื่อผู้ที่สอบภาค ก. ผ่าน
  • พิมพ์หนังสือรับรองผลการสอบผ่าน

การสอบบรรจุข้าราชการเป็นกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในหน่วยงานภาครัฐ ผู้ที่สนใจรับข้าราชการควรเตรียมความพร้อมทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาที่สอบ ตรวจสอบคุณสมบัติและศึกษาวิธีการสมัครอย่างละเอียด อย่างไรก็ตาม การสอบบรรจุข้าราชการอาจมีค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัว เช่น ค่าหนังสือ ค่าสมัครสอบ ค่าเดินทางหรือค่าคอร์สติวเสริมในวิชาต่าง ๆ ที่ไม่ถนัด หากไม่ได้วางแผนการเงินส่วนนี้ไว้อาจเกิดเหตุการณ์เงินไม่พอใช้ได้ สำหรับผู้ที่สนใจสมัครบัตรกดเงินสดยูเมะพลัส เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในยามฉุกเฉิน สามารถสมัครผ่านทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
บัตรกดเงินสดยูเมะพลัส

*อัตราดอกเบี้ย 19.8% - 25% ต่อปี, กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว, ดูเงื่อนไขได้ที่เว็บไซต์ยูเมะพลัส