หลังจากที่ผู้คนทั่วโลกต้องเผชิญกับความกังวลกับสถานการณ์ต่างๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการระบาดของเชื้อไวรัสหรือปัญหามลภาวะต่างๆ ส่งผลให้วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป ผู้คนส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญด้านการดูแลสุขภาพ เริ่มเรียนรู้วิธีการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น อีกทั้งส่งผลให้รูปแบบการท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ผู้คนต้องการการท่องเที่ยว การพักผ่อนที่เน้นไปทางฟื้นฟูสุขภาพใจ และกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับตัวเอง จึงก่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบใหม่ หนึ่งในนั้นคือ “การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ” หรือ Wellness Tourism นั่นเอง 
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คืออะไร ?
อย่างแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพไม่ใช่การท่องเที่ยวสำหรับคนป่วย
แต่เป็นการท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ เน้นการฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจให้มีความสมดุล เป็นการปลดปล่อยความเครียดจากวันที่เหนื่อยล้า ได้ใช้เวลากับตัวเองอย่างเต็มที่เพื่อเพิ่มพลังให้กับตัวเอง ยกตัวอย่างกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ  เช่น
o การเข้าร่วมโปรแกรมฝึกสมาธิ เป็นการบำบัดสุขภาพจิตใจให้รู้จักความสงบและการปล่อยวาง
o การเล่นโยคะ รำไทเก๊ก ซึ่งเป็นการดูแลทั้งสุขภาพใจ สุขภาพกาย ได้ฝึกสมาธิไปในตัว 
o การนวดแผนไทย ประคบสมุนไพร ทำสปา อาบน้ำแร่ ซึ่งเป็นศาสตร์การบำบัดที่ช่วยกระตุ้นอารมณ์ให้รู้สึกผ่อนคลาย ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น หายปวดเมื่อย รู้สึกสบายตัว
o ทานอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อปรับปรุงระบบต่างๆ ภายในร่างกายให้ดีขึ้น
o ท่องเที่ยวเชิงเกษตร สัมผัสประสบการณ์ปลูกผัก ดำนา เก็บไข่ไก่ เรียนรู้วิถีเกษตรกรรมของชุมชน ฯลฯ
เทรนด์การท่องเที่ยวปี 2023  มีอะไรอีกบ้าง?
นอกจากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแล้ว ในปี 2023 นี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  ได้เผยถึงเทรนด์การท่องเที่ยวในประเทศไทยอีกหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น
o การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustain to Regain)
เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญทั้งสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างเท่ากัน ด้วยการคำนึงถึงขีดความสามารถในการรองรับของธรรมชาติ ผลประโยชน์ และวิถีชีวิตของคนในชุมชน รวมไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้และปลูกจิตสำนึกให้กับนักท่องเที่ยว คนท้องถิ่น ผู้ประกอบการและหน่วยงานต่างๆ ด้วย เช่น การท่องเที่ยวเชิงชุมชน (Community-based tourism) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ (Ecotourism) ทั้งการปลูกป่าชายเลน พายเรือล่องแก่ง เดินป่า ดำน้ำ ดูปะการัง นอนพักโฮมสเตย์ เป็นต้น
o การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Brighter Future of Culinary Tourism)
เป็นการเปิดประสบการณ์การท่องเที่ยวผ่านวัฒนธรรมการกิน โดยเราจะได้เรียนรู้สังคม และวัฒนธรรมผ่านเมนูอาหารต่างๆ ของแต่ละท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งวัตถุดิบที่เลือกใช้ในการประกอบอาหาร รสชาติเฉพาะตัว ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ อย่างข้าวซอยเชียงใหม่ ที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ทำให้ทั้งคนไทย และชาวต่างชาติอยากไปลิ้มลองรสชาติด้วยตัวเองถึงถิ่น หรือแม้แต่ของฝาก เช่น น้ำพริกหนุ่ม ที่ทำให้ต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้าน รวมไปถึงการแนะนำอาหารจากคนดัง เช่น ลูกชิ้นยืนกิน จังหวัดบุรีรัมย์ ที่โด่งดังมาจากลิซ่า วง BLACKPINK จนผู้คนต่างหลั่งไหลเดินทางไปเที่ยวบุรีรัมย์เพื่อไปทานลูกชิ้นยืนกินแบบต้นฉบับ ซึ่งถือว่าเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ผ่านอาหารได้ไปในตัว
o การท่องเที่ยวพร้อมการทำงาน (Work from Anywhere & Digital Nomad)
ด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส ส่งผลให้รูปแบบการทำงานของเหล่ามนุษย์ออฟฟิศเปลี่ยนไป เพราะไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศก็สามารถทำงานได้ ดังนั้น จึงก่อให้เกิดเทรนด์การท่องเที่ยวพร้อมการทำงานไปในตัว หรือ Digital Nomad เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ประเทศอะไรก็สามารถทำงานไปได้เที่ยวไปด้วยได้ แถมการเปลี่ยนสถานที่ทำงาน ยังทำให้ได้พบกับบรรยากาศใหม่ๆ ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหลายสถานที่ท่องเที่ยว ร้านกาแฟ ร้านอาหาร โรงแรม ฯลฯ มีพื้นที่สำหรับการนั่งทำงาน มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต (Wi-Fi) ให้ใช้ฟรีเพื่อรองรับส่งงานผ่านทางออนไลน์นั่นเอง
และไม่ว่าคุณจะชื่นชอบเทรนด์การท่องเที่ยวแบบไหน อยากจะเดินทางไปเที่ยวที่ใด อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมพร้อม คือ การมีเงินสดสำรองติดตัวไว้เพื่อความอุ่นใจ โดย บัตรกดเงินสดยูเมะพลัส คือหนึ่งในตัวช่วยทางการเงินที่ดี ที่จะทำให้คุณได้เดินทางท่องเที่ยวอย่างอุ่นใจคลายกังวล เพราะสามารถสั่งเงินโอนเข้าบัญชีได้ทันที พร้อมด้วยอัตราดอกเบี้ย 0% นานถึง 30 วัน* 
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด