เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “บ้าน” เท่ากับ “บาน” นั่นก็เพราะว่าการซ่อมบ้านแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมหลังคา ซ่อมครัว ปรับปรุงห้องน้ำ ฯลฯ หลายคนมักเจอเหตุการณ์ค่าใช้จ่ายเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรก ดังนั้น หากใครที่กำลังมีแผนซ่อมแซมบ้านอยู่ เพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายบานปลาย เรามีเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบ้านมาฝากกัน

1. สำรวจบ้านและจุดที่ต้องการซ่อมแซม สิ่งแรกที่ต้องทำคือการสำรวจบ้านว่ามีจุดไหนที่ต้องการซ่อมแซมบ้าง แล้วลิสต์ออกมาว่าจุดไหนต้องปรับปรุงอะไร พร้อมเรียงลำดับความสำคัญก่อนและหลังว่าจุดไหนต้องการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน เพราะมีผลกระทบต่อการอยู่อาศัย หรือจุดไหนที่เล็กน้อย ไม่ได้มีผลกระทบกับการอยู่อาศัยมากนัก สามารถรอก่อนได้ เนื่องจากเราไม่จำเป็นต้องซ่อมแซมบ้านให้เสร็จพร้อมกันในคราวเดียวเสมอไป โดยเฉพาะผู้ที่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ

2. กำหนดแผนการปรับปรุงและคำนวณค่าใช้จ่าย การกำหนดแผนการปรับปรุงบ้านเป็นเรื่องสำคัญก่อนที่จะเริ่มต้นลงมือทำ หลังจากที่คุณสำรวจจุดต่าง ๆ ภายในบ้านที่ต้องการปรับปรุงแล้ว คุณต้องตัดสินใจว่าจุดไหนที่จำเป็นต้องจ้างช่างหรือผู้รับเหมาทำให้ หรือจุดไหนที่สามารถซ่อมเองได้เพื่อประหยัดงบประมาณในการจ้างผู้รับเหมา พร้อมกับศึกษาข้อมูลโดยคร่าวว่าการซ่อมแซมแต่ละรูปแบบนั้น หากจ้างผู้รับเหมาโดยทั่วไปราคาจะอยู่ที่เท่าไหร่ โดยเราแนะนำให้ลองสอบถามจากหลายๆ บริษัทดู ทั้งนี้ การประมาณราคาค่าซ่อมบ้านจะต้องดูที่คุณภาพวัสดุที่เลือกใช้ ขนาดพื้นที่ปรับปรุงตามจริง รูปแบบการปรับปรุง ระยะเวลาในการซ่อม ค่าแรง ค่าประสบการณ์ผู้รับเหมา ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภทงานและความชำนาญของช่างหรือผู้รับเหมา

ส่วนกรณีที่ต้องการซ่อมบ้านเอง ต้องการซื้อวัสดุเอง จะจ้างแค่ช่างทำให้ ก็ต้องตรวจสอบค่าแรงช่างจากหลาย ๆ คนดูว่า ประเภทงานที่ต้องการซ่อมปกติแล้วค่าแรงจะตกอยู่ที่วันละเท่าไหร่ ต้องใช้วัสดุอะไรในการซ่อมแซมบ้าง พร้อมเปรียบเทียบราคา และหาแหล่งซื้อวัสดุที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งการวางแผนการปรับปรุงอย่างรอบคอบนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงในการพบเจอปัญหาที่ไม่คาดคิด และช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรเกิดขึ้นได้

3. กำหนดงบประมาณ หลังจากที่คุณวางแผนการปรับปรุงบ้านแล้ว ให้ย้อนกลับมาดูงบประมาณที่ตนเองมีอยู่จริงว่าเพียงพอต่อการซ่อมแซมหรือไม่ หากคำนวณออกมาแล้วเกินงบประมาณ ก็ให้ย้อนดูเช็กลิสต์ที่ทำไว้ตอนแรกว่าจุดไหนต้องการการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน แล้วที่เหลือก็ค่อย ๆ ทยอยทำภายหลังได้ ทั้งนี้ ไม่ควรตั้งงบประมาณต่ำเกินไป ควรกำหนดงบประมาณตามความเป็นจริง กำหนดให้ชัดเจนที่สุด เพราะมีผลต่อการตัดสินใจหลายๆ เรื่อง เช่น การเลือกผู้รับเหมา การเลือกวัสดุสำหรับการซ่อมแซม พร้อมบวกงบประมาณไปอีก 10 - 25% เผื่อกรณีไม่คาดฝันด้วย

4. เลือกผู้รับเหมาหรือช่างที่น่าเชื่อถือ กรณีเลือกจ้างผู้รับเหมาหรือช่าง ให้เลือกผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ เป็นมืออาชีพ มีประสบการณ์ในการซ่อมแซมบ้าน ที่อยู่ในราคาค่าจ้างสมเหตุสมผล เพราะผู้รับเหมาหรือช่างที่เป็นมืออาชีพจะมีส่วนช่วยให้คำแนะนำ และช่วยควบคุมงบประมาณให้กับเราได้ ซึ่งนอกจากเราจะได้รับการซ่อมแซมบ้านที่มีประสิทธิภาพแล้ว หากมีข้อสงสัยเรื่องคุณภาพวัสดุ ราคาวัสดุ ผู้รับเหมามืออาชีพจะให้คำตอบในเรื่องเหล่านี้กับเราได้อย่างกระจ่าง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการซ่อมแซมบ้านซ้ำแล้วซ้ำอีก ทั้งนี้ ไม่ควรจ้างผู้รับเหมาหรือช่างที่ราคาค่าจ้างถูกมากจนเกินไป เพราะอาจประสบปัญหาผู้รับเหมาหรือช่างทิ้งงาน ได้รับงานที่ไม่ตรงความต้องการ หรืองานไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ค่าใช้จ่ายของเราบานปลายได้

ที่สำคัญควรมีการทำเอกสารสัญญา โดยมีการระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการซ่อมบ้านอย่างชัดเจน เช่น วันเริ่มงาน วันสิ้นสุดงาน รายการซ่อม ค่าแรง แบ่งจ่ายเป็นกี่งวด วัสดุที่ใช้ ค่าปรับกรณีช้าเกินกว่ากำหนด เป็นต้น

5. เลือกใช้วัสดุคุณภาพดี ไม่ว่าคุณจะเลือกจ้างผู้รับเหมา จ้างช่าง หรือซ่อมบ้านเอง ให้พิจารณาเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพดี เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงในการซ่อมแซมบ้านบ่อย ๆ ที่ส่งผลกระทบให้ค่าใช้จ่ายบานปลายได้ แม้การลงทุนในวัสดุที่มีความทนทานและคุณภาพดีอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงในตอนแรก แต่หากมองในระยะยาวนับว่าคุ้มค่ามากกว่าจริง ๆ

ทั้งนี้ หากสามารถเลือกซื้อวัสดุด้วยตัวเองได้ หรือสามารถแจ้งช่างว่าต้องการวัสดุอะไร สเปคแบบไหน แนะนำให้ทำเลย เพราะจะช่วยควบคุมงบประมาณไม่ให้บานปลายได้อีกทาง และหากวัสดุที่ต้องการมีราคาสูงจนเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ แต่มีวัสดุอื่นที่คุณสมบัติและลักษณะใกล้เคียงกันแต่มาในราคาที่ถูกกว่า หรือสเปคเดียวกันแต่เป็นยี่ห้ออื่นที่เราต้องการซื้อในตอนแรก แนะนำให้เลือกชิ้นที่ราคาถูกกว่า เพื่อประหยัดงบประมาณนั่นเอง

6. ดำเนินงานตามแผน พยายามดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ให้ได้มากที่สุด และหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแผนงานกะทันหัน ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนนัดวันซ่อมบ้านกับช่าง การเปลี่ยนสีวัสดุ การเปลี่ยนวัสดุ ฯลฯ เนื่องจากมีโอกาสที่ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแผนในระหว่างการทำงาน

จำเป็นต้องซ่อมบ้านแต่ค่าใช้จ่ายไม่พอ บัตรกดเงินสดช่วยคุณได้

กรณีที่บ้านมีความจำเป็นต้องซ่อมอย่างเร่งด่วน เพราะมีผลกระทบต่อการอยู่อาศัยและอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต เช่น ฝ้ารั่ว กำแพงทรุด ผนังเกิดรอยร้าวขนาดใหญ่ และจำเป็นต้องใช้เงินสดในการซื้อวัสดุ จ่ายค่าแรงช่าง แล้วเงินสดที่มีติดตัวไม่เพียงพอ “บัตรกดเงินสด” เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดีๆ ที่สามารถช่วยคุณได้ โดยเฉพาะบัตรกดเงินสดยูเมะพลัส ที่สามารถเบิกเงินสดได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 30 วัน* เพราะเราเข้าใจดีว่าบางครั้งการซ่อมบ้านเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ บัตรกดเงินสดยูเมะพลัสจึงเหมาะกับการมีติดตัวไว้ยามเกิดเหตุจำเป็น เพราะหากสมัครไว้แล้วไม่ได้ใช้ก็ไม่เกิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น โดยสามารถสมัครบัตรกดเงินสดออนไลน์ได้ ตลอด 24 ชั่วโมง

*เพียงมียอดเบิกถอนเงินสดภายใน 30 วันหลังได้รับการอนุมัติ (เฉพาะยอดเบิกถอนภายในวันแรกเท่านั้น), หลังจบโปรฯ อัตราดอกเบี้ยปรับเป็นปกติ 19.8% หรือไม่เกิน 25% ต่อปี, กรณีผิดนัดชำระจะถูกปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยปกติ, ดูเงื่อนไขได้ที่ www.umayplus.com, กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว